เมนู

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารเจ้า เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายเที่ยวจาริกสัญจรอยู่ในป่า มหาชนทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะได้พบได้ปะโดยยาก เมื่อ
ได้สร้างวิหารถวายให้อยู่อาศัยแล้ว ท่านจะได้ไปมาพักพาอยู่เป็นครั้งเป็นคราวให้มหาชนได้
เห็นและจะได้มาทำบุญให้ทาน สร้างวิหารนั้นมีอานิสงส์ดังนี้อีกประการหนึ่ง สิริเป็นอานิสงส์สอง
ประการ เหตุดังนี้สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ให้ทายกสร้างวิหาร
ถวายแก่พระภิกษุเป็นพหูสูตผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก แต่พระพุทธบุตรทั้งปวงนั้น พระองค์เจ้า
บัญญัติไว้ว่า อย่าให้รักใคร่อาลัยด้วยวิหารนั้น พึงอยู่ชั่วคราวแล้วหลีกไป อย่างได้อยู่ในที่ใด
ติดอยู่เป็นนิตย์ พระองค์โปรดแล้วไว้ฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรได้ทรงฟังก็ทรงพระโสมนัสปรีดาตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจักรับเอาถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไว้ เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบไป
แก่กุลบุตรอันเกิดมาเป็นปัจฉิมาชนตาสัตว์ในกาลบัดนี้
อนิเกตานาลยกรณปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

อุติฏฐอุทรปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ ภาสิตํ เจตํ คำนี้สมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้ามีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า ภิกษุควรมีเพียรในการบิณฑบาตเลี้ยงท้อง อย่าได้ประมาทลืมตน และควร
เป็นผู้ขวนขวายสำรวมท้อง อย่าได้บริโภคอาหารมากยิ่งประมาณ ปุน จ ครั้นนานมาเล่า
สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรอุทายี บางคราวตถาคตนี้ ฉันจังหันเพียง
เสมอขอบมาตรนี้บ้าง ยิ่งกว่านี้บ้าง นี่แหละจะเชื่อคำหน้าหรือคำหลังก็จะผิด ครั้นจะเชื่อคำหลัง
คำหน้าก็จะผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีเงื่อนเป็นสองไม่ต้องกัน นิมนต์พระ
ผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่ง
สมเด็จพระศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกษุไม่ควรประมาทในการบิณฑบาตเลี้ยงท้อง
และควรเป็นผู้สำรวมท้องของตน พระพุทธฏีกานี้ปรากฏทั่วไปแก่พระอรหันต์เจ้า และ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลาย และคำนั้นเป็นสภาววจนะกล่าวโดยแท้

ในทางธรรม มหาราช ดูกรสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร บุคคลประกอบการมิได้สำรวม
ท้องนั้น ปาณํปิ หนติ ย่อมฆ่าตีซึ่งสัตว์บ้าง อทินฺนํปิ อาทิยติ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้
ให้บ้าง ปรทารํปิ คจฺฉติ ส้องเสพกาเมสุมิจฉาจารบ้าง มุสาปิ ภณติ เจรจามุสาส่อเสียด
สัมผัปปลาปวาทตลกคะนอง ผรุสาวหยาบช้าด่าทอล่อลวงท่านเป็นการมุสาวาทบ้าง มชฺชํปิ
ปิวติ ดื่มกินซึ่งสุรายาเมาเพื่อจะเลี้ยงท้องของอาตมาบ้าง มาตรํปิ ชีวิตา โวโรเปติ ปลงเสีย
ซึ่งชีวิตมารดาบิดาบ้าง ฆ่าเสียซึ่งพระอรหันต์บ้าง กระทำสังฆเภทและโลหิตุปบาทด้วยจิต
อาฆาตประทุษร้ายบ้าง ทั้งนี้ก็หมายจะให้เกิดลาภสักการะเลี้ยงท้องของตนจึงกระทำไป
จะเหมือนหนึ่งใครเล่าบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจเทวทัต อุทเร อสญฺญโม มิได้สำรวมท้อง
ของอาตมา สงฺฆํ ภินฺทิตฺวา กระทำสังฆเภท เหตุฉะนี้จึงไปไหม้อยู่ในอวิจีนรกมีกำหนดกัลป์
หนึ่ง นี่แหละสมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าพระองค์เห็นเหตุฉะนี้ และกิจเหล่าอื่นซึ่งเป็นคล้ายกับที่
ถวายวิสัชนามาแล้วนั้นเป็นอันมาก จึงตรัสสอนให้สำรวมท้องแห่งอาตมา
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เมื่อโยคาวจรเจ้าผู้ใด มิได้ประมาท
ืลืมตนมีเพียรขวนขวายในการสำรวมท้องแล้ว ก็อาจสำเร็จแก่จตุสัจจาภิสมัย คือจะได้สำเร็จแก่
พระอริยาสัจทั้งสี่ มีพระทุกขสัจเป็นต้น มีมัคคสัจเป็นปริโยสาน กระทำสามัญผลทั้งหลายให้
แจ้ว และจะได้พระปฏิสัมภิทา 4 พระสมาบัติ 8 และอภิญญา 6 ประการ ถึงซึ่งภาวะชำนาญ
คล่องแคล่ว สำเร็จในสมณธรรมทั้งปวง บพิตรพระราชสมภารจะไม่ได้สวนาการทรงฟังบ้าง
แลหรือ ว่ายังมีสุวรรณโปรดกนกแขกเต้าตัวหนึ่ง สำรวมท้องของอาตมา จนโลกไหวตลอดถึงพิภพ
ดาวดึงส์ สมเด็จอมริทร์ต้องลงมาปฏิบัติสุวรรณโปดกนั้น ให้ได้รับความสุข ด้วยเดชแห่ง
สุวรรณโปดานั้นถือสำรวมท้อง บริโภคอาหารพอให้ชีวิตเป็นไป สมเด็จพระไตรโลกโมลี
เจ้าทรงพิจารณาเห็นคุณทั้งหลายเป็นอันมากเห็นปานนี้ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสห้ามมิได้บริโภค
จนเหลือประมาณ ให้รับประทานพอควรแก่ท้อง สำรวมท้องของตนไว้ พระพุทธฎีกาที่ตรัสกับ
พระอทายีว่า ดูกรอุทายี ตถาคตนี้บริโภคอาหารพอประมาณเสมอขอบบาตรนี้บ้าง อปฺเปกทา
บางคาบเล่าตถาคตบริโภคยิ่งไปกว่านั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัสทั้งนี้ด้วยสามารถพระองค์
ขาดกิเลสสำเร็จแก่พระโพธิญาณแล้ว ได้กระทำกิจทุกอย่างอันเป็นจริยาของสมณะเสร็จสิ้นแล้ว
มิใช่ผู้จะต้องศึกษาบำเพ็ญเพียงสืบต่อไป เปรียบปานดุจบุคคลเป็นโรคให้ลงให้รากและเป็นไข้
ต่าง ๆ หมอก็ห้ามของแสลง เพื่อจะให้สบายหายโรคจึงห้ามของแสลงสำรวมท้องของอาตมาไว้
ฉันใด อนึ่งบุคคลที่ประกอบด้วยกิเลส ยังมิได้แจ้งเหตุในพระจตุราริยสัจนั้นเหมือนบุคคลเป็น
ไข้พึงให้สำรวมท้องของอาตมาไปกว่าจะขาดจากกิเลส เมื่อขาดจากกิเลสแล้ว จะสำรวมก็ได้
ไม่สำรวมก็ได้ อุปมาฉันใดนะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจแก้วมณีอันดีมีรัศมีเลื่อม
ประภัสสรเป็นแก้วอันมีค่า มีชาติอันบริสุทธิ์ส่งสี จะได้มีกิจต้องขัดหามิได้ อันพุทธวิสัยนั้นมี

พระบารมีเปี่ยมแล้ว และจะหาซึ่งโทษที่จะกีดกั้นอยู่มิได้ อุปไมยเหมือนแก้วมณีมีรัศมีอัน
บริสุทธิ์นั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรได้ทรงก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า สมฺปฏิจฺฉามิ โยม
จะรับไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติแห่งกุลบุตรอันเกิดมาภายหลัง อันเป็นปัจฉิมาชนตาในกาลบัดนี้
อุติฏฐอุทรปัญหา คำรบ 7 จบเพียงนี้

ธัมมวินยปฏิจฉนปัญหา ที่ 8


ราชา

สมเด็จบรมกษัตริย์ขัตติยนรินทร์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี
มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นแก่พระนาคเสนสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา ถ้อยคำอันนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกโมลีเจ้า
มีพระพุทธฎีกาตรัสประภาษไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธมฺมวินโย อันว่าพระสูตรพระวินัยและ
พระปรมัตถ์ วิวิตฺโต ถ้าเปิดออกกล่าวคือเทศนาบอกเล่าอยู่เมื่อใดก็รุ่งเรืองไปตราบนั้น ไม่รู้เสื่อม
โน ปฏิจฺฉนฺโน ถ้าว่าปิดบังไว้มิได้บอกกล่าวให้เล่าเรียน มิได้ตรัสพระธรรมเทศนาก็ถึงซึ่งภาวะ
ลี้ลับอัปภาคย์ไปไม่รุ่งเรือง ปุน จ ครั้นมาอีกใหม่เล่า สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้ามีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสไว้ในวินัยปิฎกว่า ให้พระภิกษุสำแดงพระปาติโมกข์ในพระอุโบสถอันเป็นที่ลับ อย่าให้
อุบาสกอุบาสิกาฟัง ตกว่ากำบังพระวินัยไว้ โยมเห็นว่าถ้าเปิดพระวินัยออกให้แจ้งแก่สัตบุรุษ
สีกานี้ เขาได้ฟังแล้วจะจำเริญศรัทธา โสเภยฺย จะงดงามนักหนา เตน การเณน เหตุดังนั้น
อรรถรสธรรมรสวิมุตติรสจะปรากฏอย่างไรเล่า เมื่อกำบังพระวินัยเสียดังนี้ นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า
แม้จะถือเอาคำเดิมที่พระองค์ตรัสว่าพระสูตรพระวินัยพระปรมัตถ์ ถ้าเปิดไว้แล้ว ก็จะรุ่งเรืองนั้น
คำภายหลังที่สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัสให้พระภิกษุกำบังไว้ซึ่งพระวินัย มิให้สำแดงซึ่ง
พระปาติโมกข์แก่สัตบุรุษสีกานั้นก็จะผิด ครั้นจะเชื่อคำนี้เล่า คำที่สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัส
ไว้เดิมก็จะผิด อยํปิ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มิเที่ยงยังเป็นสองไม่ต้องกันชื่อว่า
อุภโตโกฏิ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดให้แจ้งซึ่งความกังขาของโยมในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ
พระโลกุตตมาจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานว่า ธมฺมวินโย อันว่าพระสูตรพระวินัยพระ
ปรมัตถ์ ถ้าเปิดอออกไว้คือให้บอกกล่าวเล่าเรียน ก็จะรุ่งเรืองผ่องใส ปฏิจฺฉนฺโน แม้แลมากำบัง